การกระตุ้นพัฒนาการเด็กสำคัญอย่างไร

การกระตุ้นพัฒนาการเด็กสำคัญอย่างไรต่อการเติบโต

สำหรับเด็ก จัดเป็นบุคคลอีกวัยหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะเขาจะต้องเติบโตไป กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและเป็นกำลังหลักที่ดี ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง การเจริญเติบโตของเด็กนั้น จะดำเนินไปตามวัย หากแต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเจริญเติบโตของเขานั้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณพ่อคุณแม่เอง ก็จะต้องรู้จักวิธีเลี้ยงลูก และวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้เหมาะสม ในแต่ละวัยเพื่อที่จะทำให้ร่างกาย, สติปัญญา, ความคิดทักษะต่าง ๆ ของเขา จะพัฒนาได้อย่างเต็มที่สำหรับวันนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้กันค่ะ

เด็กแรกเกิดจวบไปจนถึงอายุ 5 ปี

สำหรับเด็กแรกเกิดจวบไปจนถึงอายุ 5 ปี ไม่แนะนำให้คุณพ่อ-คุณแม่ ปล่อยลูกน้อย ไว้กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์, Tablet , โทรศัพท์มือถือต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ มีประโยชน์มากค่ะ เพียงแต่ว่าจะต้องใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาและเหมาะสม โดยถ้าคุณเลี้ยงลูกน้อยด้วยสิ่งของเหล่านี้มากจนเกินไป ก็จะทำให้พัฒนาการของเขาเกิดความล่าช้าได้อีก อีกทั้งยังช่วยลดสมาธิ ก่อให้เกิดสมาธิสั้น ไม่ทำให้เด็กพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพูน ทักษะการเข้าสังคม พัฒนาทัศนคติ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่เด็กควรจะพัฒนา เพราะฉะนั้นคุณพ่อ-คุณแม่ จำเป็นต้องหากิจกรรมต่าง ๆ ทำกับลูกน้อยทุกวัน

เด็กอายุ 0 1 ปี

กิจกรรมที่เราอยากจะแนะนำเลย ก็คือ กิจกรรมที่ให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกายแบบเบา ๆ หากแต่ต้องต่อเนื่อง โดยอาจปล่อยให้ลูกน้อยนอนคว่ำหน้า ชูคอ พร้อมดึงความสนใจเขาไปทางขวาบ้างสายบ้าง เพื่อให้เขาเรียนรู้ในการขยับกล้ามเนื้อคอ เมื่อเขาเริ่มคลานได้แล้ว ก็อาจจะเลือกให้เขาตั้งไข่ คราวนี้ก็ให้ซื้อของเล่น ที่มีสีสันสดใส เหมาะสมกับวัยของเขาเพื่อไม่ให้คลานไปหยิบ หรือพยายามจะยืนหยัดให้ได้ เพื่อจะหยิบของชิ้นนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ คุณพ่อ-คุณแม่ ก็ต้องมีความใส่ใจดูแลพัฒนาการของลูกน้อย ว่าเขาเดินเข้าสู่วัยไหนแล้ว ก็จะทำให้เหมาะสมตามวัยนั่นเองค่ะ

การกระตุ้นพัฒนาการเด็กสำคัญอย่างไร

เด็กอายุ 1-5 ปี

เมื่อลูกน้อยพัฒนาเจริญเติบโตมาจนถึงขั้นนี้ แนะนำให้ทำกิจกรรมกับเขาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง – ถึง 2 ชั่วโมง เน้นไปในเรื่องของทักษะการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การเดิน, การวิ่ง, การกระโดด, การทรงตัว, การขี่จักรยานเป็นต้น ร่วมด้วยการพัฒนาทางด้านศิลปะ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น สอนเขาปั้นดินน้ำมัน, สอนให้เขาวาดรูปง่าย ๆ ลงบนกระดาษ เช่น รูปทรงเรขาคณิต, รูปดอกไม้ เป็นต้น สำหรับการเล่นบทบาทสมมติ หรือแม้แต่การสอนให้ช่วยคุณพ่อ-คุณแม่ ทำงานบ้านก็เป็นการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่ดี โดยสุขภาพจิตที่ดี จะทำให้เขาเติบโต กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ทั้งทางด้านอารมณ์สติปัญญาและความคิด

นอกจากนี้การสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณพ่อ คุณแม่ หรือคนในครอบครัวทำกับลูกน้อยได้นั้น จัดเป็นการถักทอสายใยแห่งความรัก ความเข้าใจ ซึ่งก็จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ ในอีกด้านหนึ่งนั่นเอง เพราะฉะนั้นคุณผู้อ่าน ก็สามารถนำขั้นตอนเหล่านี้ไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ให้เข้ากับความถนัดของแต่ละครอบครัวได้เลย